วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เบาหวานโรคไร้เชื้อเรื้อรัง ที่ไม่เจ็บปวด

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะหวานนั้นเอง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะหวานเพราะร่างกายเราไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้หมด น้ำตาลที่เหลือก็จะผสมอยู่ในกระแสเลือดและถูกไตขับทิ้งออกจากร่างกายทางปัสสาวะ เป็นเหตุให้ปัสสาวะหวาน

สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลเกินในกระแสเลือด

คนปกติ ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ อินซูลินออกมา ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลออกไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ 60 ล้านๆ ทั่วร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน
คนเป็นเบาหวาน ถ้าอินซูลินเกิดบกพร่องจะทำให้อินซูลินนำน้ำตาลไปให้เซลล์ต่างๆได้น้อย จึงเหลือน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไปเป็นสาเหตุให้ปัสสาวะออกมาหวาน

สาเหตุที่ทำให้อินซูลินไม่มีคุณภาพหรือมีปริมาณน้อย

ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาได้น้อยลง จึงทำให้มีอินซูลินน้อยกว่าปริมาณน้ำตาล น้ำตาลที่เหลือจะไปอยู่ในกระแสเลือดมากทำให้กลายเป็นเบาหวาน

ในคนอ้วน อินซูลินไม่สามารถพาน้ำตาลไปได้ เพราะเซลล์ไขมันในช่องท้องผลิตฮอร์โมนบางตัวออกมารบกวนการทำงานของอินซูลิน ทำให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่

สตรีมีครรภ์ ในสตรีบางคนเวลาตั้งครรภ์จะผลิตฮอร์โมนบางตัวออกมารบกวนการทำงานของอินซูลิน

อินซูลินบกพร่อง ซึ่งพบน้อยมากเกิดจากการผิดปกติของยีนต์

กลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน

ทางพันธุกรรม มีญาติร่วมตระกูลเป็นเบาหวาน
คนอ้วน น้ำหนักเกิน จะพบว่าคนอ้วนเป็นเบาหวานถึง 85 เปอร์เซ็นต์
คนที่มีประวัติว่าตั้งครรภ์แล้วแท้งบ่อยๆ สาเหตุคือ แม่เป็นเบาหวานแล้วไม่ทราบทำให้แท้งได้

ผู้ที่เป็นแผลติดเชื้อบ่อย เช่น แผลที่มือ เท้า ปัสสาวะอักเสบ เป็นแผลหายยากหายช้าต้องรีบไปตรวจหาเบาหวาน

วิธีตรวจเบาหวาน

วิธีการตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดแบบคราวทำได้ง่าย ด้วยเครื่องตรวจเบาหวานโดยการเจอะเลือดบริเวณปลายนิ้วแค่หยดเดียวก็จะรู้ค่าของน้ำตาลในเลือดได้แล้ว สามารถทำเองได้ที่บ้าน

ค่าของน้ำตาลในเลือด

คนปกติ ก่อนทานอาหารต้องมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังอาหารต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

คนที่เป็นเบาหวาน ค่าของน้ำตาลในเลือดจะมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนทานอาหาร และมากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังจากทานอาหาร

คนที่อยู่ระหว่างกลาง ผู้ที่อยู่ระหว่าง 100-125 ก่อนทานอาหาร และ 140-199 หลังทานอาหารนั้นอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ต้องทำการตรวจไหม่ โดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำซึ่งจะก่อนทำการตรวจต้องอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงในตอนกลางคืน แล้วมาเจอะเลือดในตอนเช้า หลังจากเจอะครั้งแรกจะต้องดื่มน้ำตาลกลูโคสทันที 1 แก้วให้หมดภายใน 5 นาที แล้วรออีก 2 ชั่วโมงจึงจะทำการเจอะเลือดอีกครั้งเพื่อดูความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังจากที่ร่างกายได้รับน้ำตาล ดูว่าฮอร์โมนอินซูลินจะยังมีคุณภาพสามารถพาน้ำตาลไปใช้ได้ดีขนาดใหน มีเหลือตกค้างหรือไม่

อาการของคนเป็นโรคเบาหวาน

1. เข้าห้องน้ำบ่อย

เข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้น รู้สึกเหมือนต้องการปัสสาวะทั้งวัน ซึ่งการถ่ายปัสสาวะจะบ่อยขึ้นหากมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป หากไม่มีฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีแต่ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ไตจะไม่สามารถกรองเอากลูโคสกลับเข้าไปในกระแสเลือดได้ จึงต้องพยายามดึงน้ำออกจากเลือดเพื่อเจือจางกลูโคส ทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็มและทำให้คุณต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ

2. ความกระหายน้ำที่ไม่อาจบรรเทาได้

หากคุณรู้สึกหิวน้ำจนต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ และรู้สึกว่าดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นสัญญาณเตือนของเบาหวานได้ โดยเฉพาะหากมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย เนื่องจากเมื่อร่างกายต้องขับน้ำออกจากกระแสเลือดเป็นปริมาณมากจนคุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อย คุณจะมีภาวะขาดน้ำ และรู้สึกว่าจำเป็นต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป

3. น้ำหลักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ

อาการนี้จะเด่นชัดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะหยุดผลิตอินซูลิน ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่มีเชื้อไวรัสไปทำลายเซลล์ตับอ่อน หรือเกิดจากการที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ทำให้ร่างกายโจมตีเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน ร่างกายจะพยายามแสดงหาแหล่งพลังงานอื่นๆอย่างหนักเนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ได้รับกลูโคส จนกระทั่งเริ่มสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมันเพื่อนำมาเป็นพลังงาน 

ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 อาการจะเริ่มเป็นมากขึ้นทีละน้อยเนื่องจากภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ชัดเจนมากนัก

4. อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

สาเหตุเนื่องจากกลูโคสตัวดีอีกเช่นกัน ตามปกติกลูโคสที่ได้รับจากการกินอาหารจะดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งอินซูลินจะช่วยเคลื่อนย้ายกลูโคสเข้าไปในเซลล์ต่างๆของร่างกายอีกขั้นหนึ่ง เซลล์ก็จะนำกลูโคสนี้ไปผลิตพลังงานที่ใช้ในการดำรงชีวิต เมื่อไม่มีอินซูลิน หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินอีกต่อไป กลูโคสก็จะคงอยู่ในกระแสเลือดนอกเซลล์ เซลล์ร่างกายก็จะขาดแคลนพลังงาน ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่ายและร่างกายทรุดโทรมลงเรื่อยๆเนื่องจากมีการ สลายโปรตีนไปใช้เป็นพลังงาน

5. มีอาการเหน็บชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มบริเวณมือ ขา หรือเท้า

อาการนี้เรียกว่าเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งจะเป็นมากขึ้นทีละน้อย เนื่องจากกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงเกินไปตลอดเวลาจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย รวมทั้งบริเวณแขนขาด้วย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาการมักจะค่อยเป็นค่อยไป จนคนหลายคนไม่รู้ตัวว่าตนเองมีอาการนี้ ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงมาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย ความเสียหายของเส้นประสาทจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว บ่อยครั้งที่อาการเส้นประสาทอักเสบสามารถดีขึ้นได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอย่างเคร่งครัด

6. อาการและสัญญาณเตือนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการตามัว ผิวหนังแห้งหรือคัน มีการติดเชื้อบ่อยขึ้น บาดแผลที่ใช้เวลานานผิดปกติกว่าจะหาย ก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น

เมื่ออาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเบาหวาน ก็เป็นผลจากการที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป หากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ 

การดูแลและรักษาเบาหวาน

การวางแผนการบริโภคอาหารและตำหรับต่างๆในผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาแบบธรรมชาติหรือตามหลักอายุรเวทที่จะช่วยให้ควบคุมโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สมุนไพรบางชนิดที่มีประโยชน์มากในการรักษาโรคเบาหวาน

มีสมุนไพรหลายชนิดที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือด ข้อดีที่สุดของการใช้ยาสมุนไพรรักษาเบาหวานเหล่านี้คือมักไม่มีผลข้างเคียง ต่อไปนี้จะเป็นรายชื่อสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานมากที่สุด มะระขี้นก ผักเชียงดา อบเชย  มะตูม  ลูกซัด ขมิ้นชัน หัวหอม แพงพวยฝรั่ง สะเดา กระเทียม 

ตำหรับอายุรเวทในการรักษาเบาหวาน

มะระขี้นก ถือว่าเป็นสมุนไพรที่ดีที่สุดสำหรับเบาหวาน ดื่มน้ำมะระขี้นกอย่างน้อย 1 ช้อนโต๊ะทุกวันจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะ 
นำน้ำมะขามป้อม 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมะระขี้นกสดหนึ่งถ้วย ดื่มทุกวันเป็นเวลา 2 เดือนจะช่วยให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้มากขึ้น 
ดื่มน้ำ 1 แก้วร่วมกับใบกะเพรา 10 ใบ ใบสะเดา 10 ใบ และกระเทียม 10 กลีบ ตอนเช้าขณะท้องว่าง จะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

วางแผนการบริโภคอาหารและโภชนาบำบัด

เบาหวานเป็นโรคหนึ่งที่จะกำเริบรุนแรงหากกินอาหารผิดชนิด ดังนั้น การวางแผนการบริโภคอาหารเป็นวิธีหลักในการจัดการกับเบาหวาน หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาลในทุกรูปแบบ – ข้าวขัดขาว มันฝรั่ง 
กล้วยหอม ผลไม้และธัญพืชที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

กินอาหารจำพวกผักใบเขียว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเหลือง ปลา ฯลฯ ให้มากที่สุด ควรกินผักบางชนิด เช่น มะระ ถั่วฝักยาว แตงกวา หัวหอมและกระเทียม ผลไม้ เช่น มะขามป้อม ลูกหว้า องุ่น 
ผักสดและสมุนไพรมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นตับอ่อนและช่วยในการผลิตอินซูลิน

การดูแลตัวเอง

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
ดูแลดวงตาให้มีสขภาพดี
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ดูแลเท้าเป็นพิเศษ
  
ทำไมคนเป็นเบาหวานบางทีต้องตัดขา?

โดยปกติเมื่อเป็นแผลและเกิดการติดเชื้อร่างกายนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวคอยไปกำจัดแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย แต่เพราะเส้นเลือดที่ขาจะยาวกว่าเส้นเลือดที่แขน ทำให้โอกาสที่เส้นเลือดจะผิดปกติมีมากกว่า เมื่อเส้นเลือดตีบตันเลือดที่ไปเลี้ยงปลายขาก็จะน้อยลง ถ้าเกิดเป็นแผลแม้จะเป็นเพียงแผลเล็กๆแต่ถ้าเกิดการติดเชื้อจะทำให้แผลเน่าเร็วขึ้น เพราะเม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าไปกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ จึงจำเป็นต้องตัดขาทิ้งเพื่อไม่ให้แผลเน่าลุกลาม

ความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน

คนผอมก็เป็นเบาหวานได้ เพราะคนๆนั้นไม่มีอินซูลีน เพราะตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลีนออกมาได้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องตับอ่อน
เบาหวานทำให้ตาบอดได้ เบาหวานทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเกิดผิดปกติ เส้นเลือดแตกแล้วไปกระจายอยู่ในจอตาทำให้การเห็นภาพผิดปกติ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น