วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การกินอาหารยังต้องรู้วิธีกินด้วย

ตามปกติ การกินต้องอาศัยการเคี้ยว ขณะที่ ค่อย ๆ เคี้ยวนั้น ระดับน้ำตาล ในเลือดจะค่อย ๆ สูงขึ้น สมองก็จะได้รับพลังงาน ให้รู้สึกดี อร่อยจัง

การเคี้ยวเป็นการกระตุ้น จากการกระทบกันของปากและขากรรไกร ซึ่งถูกส่งเป็นสัญญาณไปกระตุ้นไฮโพทาลามัสและอะมิกดาลา ที่อยู่ใต้สมองใหญ่ช่วยเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน และการเคี้ยวยังช่วยฟื้นฟูแก้อาการสมองเสื่อมผู้สูงอายุ และเป็นประโยชน์ที่ทำให้ความทรงจำคงอยู่ยาวนาน ไม่หลงๆลืมๆ
ในประเทศญี่ปุ่นพบโดยบังเอิญว่าผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมครบชุดทำให้เคี้ยวอาหาร
ได้ดี มีความจำดีขึ้นมาก 
จนเกิดการหาทุนช่วยบริจากฟันปลอมให้กับผู้สูงอายุที่ยากจนเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุ
เหล่านี้มีสุขภาพดีขึ้น ความจำดีขึ้น




 แต่ปัจจุบันมีอาหารพวกสแน็กไม่ต้องเคี้ยวก็รู้สึกอร่อยได้ เพราะถูกผลิตให้มีรสชาติแบบที่เมื่อเอาใส่ปากจะรู้สึก อร่อยทันทีอาจารย์เดะโอะ มะกอชิ (Hideo Makuuchi) กล่าวไว้ว่าสารปรุงรสที่อยู่ในสแน็กนั้นทำให้แม้ไม่เคี้ยวก็ได้ความรู้สึกเป็นสุขสุดยอดจากการกินส่งไปถึงสมองได้โดยตรง หากกินแต่อาหารประเภทนี้บ่อยๆ สมองจะขาด การกระตุ้นจากการเคี้ยว สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติก็จะเสียไป มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์โลกที่มีพัฒนาการมาด้วยระยะเวลาอันนานแสนนานตามธรรมชาติถึง3,800 ล้านปี ในธรรมชาติ แทบไม่มีอาหารชนิดไหนที่ได้พลังงานโดยไม่ต้องเคี้ยว อาหาร  1 คำ เคี้ยว 30 ครั้งจะดีต่อสุขภาพมาก ความจริงอาหารสแน็กหรืออาหารจานด่วน (ฟาสฟูด) ถ้าเคี้ยวถึง 30 ครั้ง อาหารในปากจะเละไม่น่ากินอีกต่อไป



     นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเรื่องของการใช้ของกินเล่นผ่อนคลายความเหนื่อยล้าในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเครียด ซึ่งกลับได้ผลตรงข้าม เพราะหากกินแต่ของกินเล่น แบคทีเรียที่ดีในลำไส้จะลดลง ภูมิคุ้มกันก็ต่ำลง สมองไม่เพียงแต่สูญเสียการรับรู้รสชาติ ยังมีความเป็นไปได้ที่สมองอาจถูกกระตุ้นไม่มากพอจนเกิดภาวะเสื่อมถอยได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น