วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การสะสมไขมันในช่องท้องเป็นอันตราย

อย่าประมาทไขมันในช่องมันเป็นอันตราย









ไขมันในช่องท้อง หรือ เจ้า Visceral fat ในทางเทคนิคคือ เนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในช่องท้อง มีลักษณะคล้ายเจลลี่สีเหลืองเกาะอยู่ภายในช่องท้องและรอบๆ อวัยวะต่างๆ รวมถึงลำไส้ ตับ ตับอ่อน และไต




คนที่มีพุงที่ยื่นออกมา หรือมีรอบเอวขนาดใหญ่ 


ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซ.ม.


ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน80 ซ.ม.

เส้นรอบเอวคือสัญญาณบอกว่ามีไขมันช่องท้องมาก หรือเป็นโรคอ้วนลงพุง  



จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ค.ศ. 2008 พบว่ากว่า 32% หรือ 1 ใน 3 ของคนไทยเป็นโรคอ้วน 
ที่น่าตกใจมากคือคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยเป็นโรคอ้วนและยังคงใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการลุกลามของโรคอ้วนต่อไป



อันตรายของไขมันในช่องท้อง (Visceral fat)

โรคหลอดเลือดและหัวใจ
โรคมะเร็ง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคภาวะสมองเสื่อม
โรคเบาหวาน
โรคซึมเศร้า
โรคไขข้อ
โรคการนอนหลับผิดปกติ
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

วิธีลดไขมันในช่องท้อง

1. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการลดอาหารประเภทไขมันลง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ที่ติดมัน หนังสัตว์ อาหารทะเลพวกกุ้งและปลาหมึก น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว 
ไม่ควรรับประทานอาหารพวกแป้งเกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน 
ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก พืชตระกูลถั่ว

2. ลดอาหารเค็ม ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความดันโลหิต

3. ลดน้ำหนัก พบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัว จะชะลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

4. แนะนำให้ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 
ในกรณีที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้วการออกกำลังกายจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

ควรปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อช่วยลดไขมันช่องท้อง ได้แก่

 1. เปลี่ยน "ข้าวขาว-แป้งขาว-น้ำตาล" เป็นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังเติมรำ(โฮลวีท) 
งดเครื่องดื่มเติมน้ำตาล เช่น ชาเขียวรสหวาน-กาแฟเย็น เป็นน้ำเปล่า

 2. กินโปรตีนจากพืช (ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร งา ) งดของทอด งดเนื้อสัตว์
 3. ลดไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ
 4. ลดไขมันทรานส์ หรือไขมันแปรรูปในโรงงาน เช่น เบเกอรี่ คุกกี้ เค้ก ขนมใส่ถุง ฟาสต์ฟูด ฯลฯ

ระวังอย่าไม่ลดน้ำหนักเร็วเกิน 1/2 กก./สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายอาจปรับตัวเข้าสู่ภาวะขาดอาหาร  ซึ่งจะเพิ่มการสะสมไขมันช่องท้องได้ 


 การลดน้ำหนักเร็วเพิ่มเสี่ยงหนังเหี่ยว หน้าแก่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น